วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การกำกับภาพยนตร์

การกำกับภาพยนตร์
การกำกับภาพยนตร์ คือ การควบคุมงานศิลปะต่างๆ ของภาพยนตร์ให้ไปในทิศทาง (direction) ที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการ ผู้กำกับภาพยนตร์ (Director) คือ ผู้ที่ควบคุมส่วนประกอบทุกส่วนที่ปรากฏหน้ากล้องถ่ายภาพ เป็นผู้ถอดบทภาพยนตร์ให้ออกมาเป็นภาพ โดยประสานส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวและมีศิลปะ ส่วนประกอบของภาพยนตร์ เช่น ผู้แสดง ภาพ ฉาก แสง เสียง ฯลฯ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วสามารถทำให้ผู้ชมประทับใจ อีกทั้งเข้าใจแก่นเรื่อง (theme) หรือแนวความคิดหลักของเรื่องนั้นได้
ผู้กำกับภาพยนตร์จะต้องทำงานประสานกับบุคลากรในกองถ่ายแผนกต่างๆ เช่น ผู้กำกับภาพ ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ผู้จัดการกองถ่าย ฯลฯ เพื่อให้ช่วยสร้างภาพที่ฝันให้เป็นตามจินตนาการที่ตนเองต้องการในการทำงานก่อนการถ่ายทำ ผู้กำกับมีลำดับการทำงานดังนี้
1. เข้าใจบทอย่างแตกฉาน (ตีบทแตก)
2. วิเคราะห์ภูมิหลังตัวละคร
3. แบ่งบทเป็นช่วงๆ (dramatic beat)
4. กำหนดรูปแบบของงาน
5. กำหนดจังหวะและระดับความรู้สึก (rhythm and tone)
6. ร่างผังการถ่าย และทำสตอรี่บอร์ด
7. ทำรายการถ่าย (shotlist)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก samforkner.org/source/dirshortfilm.html
โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อหนังสั้น
โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อหนังสั้น
1. ไม่มีงบ - งบน้อย:
- ฟรี Windows Movie Maker คลาสสิคสุดๆ ใช้ไม่ยาก  Option ก็ไม่เยอะ ลูกเล่นก็ไม่แยะ
- ฟรี Lightworks - โปรแกรมตัดต่อหนังที่ค่อนข้าง professional ฟรีๆ ถ้าจะใส่ effect ต้องทำเองนะ ใช้ยากหน่อย
- ฟรี (หรือ $15) iMovie - ถ้าเพิ่งซื้อแมคใหม่มาไม่นาน จะแถมฟรีมาให้ แต่ถ้าไม่มีก็ต้องซื้อ 15 เหรียญ โปรแกรมนี้ใช้ง่าย ลูกเล่นก็มีให้มา ถึงไม่แยะมากแต่ก็ work น่าจะเพียงพอสำหรับหนังสั้น
- $49 Corel Video Studio - effect เยอะดี ใช้ไม่ยากมาก ราคาก็ไม่แพงนัก น่าลงทุนซื้อ (เหมาะสำหรับนักตัดต่อวิดีโอมือใหม่-ปานกลาง)
- $44 Sony Vegas Movie Studio HD - โปรแกรมสำหรับมือใหม่-ปานกลาง เช่นกัน
- $79 Adobe Premiere Elements

2. ทุนหนา: ราคาหลายพัน-หมื่น
Sony Vegas Pro
Adobe Premiere Pro
Final Cut Pro
Avid Pro

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.dek-d.com/board/view/2242109


จุดเด่นและข้อสังเกตที่เด่นชัดของภาพยนตร์สั้น

จุดเด่นและข้อสังเกตที่เด่นชัดของภาพยนตร์สั้น
จุดเด่นของภาพยนตร์สั้น
คือ จะมีอิสระในการแสดงออกทั้งเนื้อหาจะวิพากษ์วิจารณ์การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม หรือสังคมอย่างรุนแรงก็ได้ เนื่องจากภาพยนตร์สั้นมักจะฉายชมกันเฉพาะกลุ่ม ส่วนรูปแบบจะวิจิตรพิสดารอย่างไรก็ได้ ดูเข้าใจยากก็ได้เข้าใจง่ายก็ได้ ซึ่งต่างจากภาพยนตร์เรื่องยาวที่จะต้องดูเข้าใจง่าย เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามและใช้ดารามีชื่อแสดงนำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดไม่มีฉากอันไม่เหมาะสมที่ทำให้ถูกเซนเซอร์ ภาพยนตร์สั้นที่มีอิสระในการแสดงออกนี่เอง จึงเป็นภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมของคนรักศิลปะโดยทั่วไป
ข้อสังเกตที่เด่นชัด

ข้อสังเกตที่เด่นชัดอีกอย่างหนึ่งของภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือ  มักจะมีประเด็นนำเสนอไม่สลับซับซ้อน มีตัวละครหลักเพียง 1-2 ตัว มีตัวประกอบไม่มาก ภาพยนตร์สั้นมักลงทุนไม่สูงนัก เนื่องจากไม่ได้ทำเพื่อฉายตามโรงภาพยนตร์ สำหรับในต่างประเทศที่วงการศิลปะเจริญกว่าเมืองไทย จะมีช่องทางนำเสนอผลงานหลาย เช่น พิพิธภัณฑ์ เทศกาลภาพยนตร์ โรงเรียนภาพยนตร์ หอศิลป์ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ บางครั้งจำหน่ายได้ด้วย เช่น ขายให้หอสมุด และหอศิลป์ ที่ซื้อภาพยนตร์ประเภทนี้สะสมไว้ สำหรับประเทศไทยโอกาสในการแสดงฝีมือและความคิดยังไม่แพร่หลายนัก ส่วนใหญ่จะทำกันเองดูในกลุ่มผู้สนใจกัน แต่อย่างไรก็ตามระยะหลังๆ มีการจัดประกวดภาพยนตร์สั้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานของนักศึกษาหรือบัณฑิตที่จบไปแล้ว เพื่อเผยแพร่ผลงานเหล่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก samforkner.org/source/dirshortfilm.html

เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น

เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น
เทคนิคมุมกล้อง
การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดาภาพมุมต่ำ 
การถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในตำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ
เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว       หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล
การแพนกล้อง
การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ
การบันทึกเป็นช็อต
ช็อตคือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต

วิธีการบันทึกเป็นช็อต

การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kanyaporn27.blogspot.com/2015/06/blog-post_2.html

ขั้นตอนการทำสตอรี่บอร์ด

ขั้นตอนการทำสตอรี่บอร์ด
1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
1.1  แนวเรื่อง
1.2  ฉาก
1.3  เนื้อเรื่องย่อ
1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที
2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ
จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า
4. แต่งบท
เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม

5. ลงมือเขียน Story Board



ตัวอย่างการเขียนสตอรี่บอร์ด 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.krui3.com/content/865

สตอรี่บอร์ด คืออะไร?

สตอรี่บอร์ด คืออะไร?
สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ
สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
- ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
- มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
- เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร
ข้อดีของการทำ Story Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.krui3.com/content/865

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)        
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)        
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวูด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอและจูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค       
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)        
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)        
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay)        
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์ หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script)        
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)        

คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.tigersmile.net/2014/10/blog-post.html