เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น
เทคนิคมุมกล้อง
การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน
ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้
เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
ภาพระดับสายตา
คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน
ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดาภาพมุมต่ำ
การถ่ายภาพในมุมต่ำ
คือ การถ่ายในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง
แสดงถึงความสง่า
การถ่ายภาพมุมสูง
คือ การตั้งกล้องถ่ายในตำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ
ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ
เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว
เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม
ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก
จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป
เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก
ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์
เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ
พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง
หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น
การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล
อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก
แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล
การแพนกล้อง
การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน
คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน
จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพ
โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา
เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน
พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา
หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม
คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ
คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย
เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ
การบันทึกเป็นช็อต
“ช็อต”
คือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป
จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก
แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต
การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก
คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต
วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การถ่ายเป็นช็อตนี้
จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน
เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ
แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น
ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้
และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kanyaporn27.blogspot.com/2015/06/blog-post_2.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kanyaporn27.blogspot.com/2015/06/blog-post_2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น